โมกหลวง

โมกหลวง

ชื่อวิทยาศาสตร์    Holarrhena pubescens Wall. ex G.Don
ชื่อพ้อง  Holarrhena antidysenterica (L.) Wall ex A.DC
ชื่อวงศ์    APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ  Kurchi

ชื่อพื้นเมืองอื่น  ซอทึ พอแก ส่าตึ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน) หนามเนื้อ (เงี้ยว – ภาคเหนือ) มูกมันน้อย มูกมันหลวง โมกหลวง โมกเขา โมกทุ่ง โมกใหญ่ (ภาคกลาง) พุทธรักษา (เพชรบุรี) พุด (กาญจนบุรี) ยางพูด (เลย)

ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์  
ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น (S/T) ขนาดกลาง สูงประมาณ 2-13 เมตร เปลือกลำต้นเรียบเกลี้ยงสีน้ำตาลเข้ม มียางสีขาวข้นทุกส่วน
ใบ
 เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะใบรูปทรงหลายแบบ เช่น รูปรี รูปไข่แกมรูปขอบขนาน รูปไข่และรูปหอกกลับ กว้าง 4-10 ซม. ยาว 10-25 ซม. ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบแหลมหรือป้าน เส้นใบแตกออกจากเส้นกลางใบมีเส้นแขนงสานกันเป็นร่างแห ท้องใบเรียบ สีเขียวเข้มมีขนละเอียดสีขาว แผ่นใบห่อตัวเล็กน้อย ขอบใบเรียว     
ดอก
 ออกดอกช่อ ออกตามบริเวณปลายยอด สีขาว มีกลิ่นหอม กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายกลีบดอกมน โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ไม่เห็นเกสร                         
ผล
 เป็นฝักยาว ขั้วฝักติดกันเป็นคู่ ปลายฝักแหลม โคนฝักแบน พอฝักแก่เต็มที่จะแตกเป็น 2 ซีก                                                           
เมล็ด 
ลักษณะแบน สีน้ำตาล จำนวนมาก มีขนยาวสีขาวติดอยู่ซึ่งจะปลิวลอยไปตามลมได้

นิเวศวิทยา                                     
ขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณ และป่าแล้งทั่วๆไป และยังพบกระจัดกระจายตามทุ่งหญ้า และในป่าไผ่

การปลูกและขยายพันธุ์                                     
เจริญเติบโตในดินทั่วๆไป ขยายพันธ์ุด้วยการเพาะเมล็ดหรือปักชำกิ่ง

ส่วนที่ใช้ รส และสรรพคคุณ     
ราก  รสร้อน ขับโลหิตระดู
แก่น
  รสขมฝาดเมา แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เปลือกต้น รสร้อนฝาดเมา แก้บิด เป็นยาเจริญอาหาร แก้ไข้พิษ
ใบ  รสฝาดเมา ขับน้ำนม ช่วยระงับอาการปวดกล้ามเนื้อ รักษาฝี                                       

ดอก  รสฝาดเมา เป็นยาถ่ายพยาธิ ช่วยเพิ่มความยากในการรับประทานอาหาร
ใบ  รสฝาดขม แก้ไข้ แก้บิด ถ่ายพยาธิในลำไส้เล็ก และรักษาโรคผิวหนัง ไฟลามทุ่ง ทำให้เคลิ้มฝัน

วิธีใช้และปริมาณที่ใช้  
1. แก้บิด โดยใช้เปลือกต้น 10-15 กรัม ล้างให้สะอาด สับเป็นชิ้นต้มในน้ำ 1 ลิตร เคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง กรองเอาน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 2 เวลา เช้า-เย็น
2. แก้ไข้พิษ โดยใช้เปลือกต้น 5-10 กรัม และผลมะตูมแห้งอย่างละเท่าๆกันเปลือกรากทับทิมครึ่งส่วน นำมาโขลกรวมกันให้ละเอียดผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอนรับประทานครั้งละ 1-2 กรััมหรือประมาณ 3-5 เมล็ดพุทรา

ข้อควรทราบ

  • เปลือกต้นมีอัลคาลอยด์ โคเนสซีน (conessine) รักษาโรคบิดชนิดมีตัว (amoebic dysentery)

รูปภาพจาก:zimbabweflora.co.zw,bloggang.com,สมุนไพร